วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 4

บทความที่ 4 ปัญญาฉ้อโกง 0n line
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608   กลุ่มเรียนที่ 1



     การซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีมากขึ้น และหลายคนใช้บริการดังกล่าวเป็นประจำ เพราะสามารถซื้อได้ง่าย สะดวก  และรวดเร็ว  ทั้งนี้ ตัวอย่างสินค้าที่ต้องการสามารถตรวจสอบได้ตามมีรายการสินค้าอยู่ในระบบ 0n line นี้  การซื้อขายสินค้าในปัจจุบัน คือ บริษัทหรือผู้ขายได้โพสต์ข้อความขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และแจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าโอนเงินผ่านบัญชีหรือใช้บัตรเครดิตชำระค่าบริการหรือราคาสินค้า แล้วจึงส่งสินค้าดังกล่าวให้แก่ลูกค้า   ซึ่งหากเป็นการขายสินค้าที่ถูกต้องก็จะไม่เกิดปัญหาในการซื้อขาย เว้นแต่จะมีความชำรุดบกพร่องในสินค้าที่จะต้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการชำรุดบกพร่องของสินค้าดังกล่าว
 
     ปัญหาที่เกิดการฉ้อโกงในการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต จึงเป็นเรื่องที่มิจฉาชีพแสวงหาโอกาสในการซื้อขายทาง online นี้ แสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อขายสินค้าหรือบริการ และเมื่อมีคนเข้าไปทำธุรกรรมและซื้อสินค้าเหล่านั้น แต่ไม่รับสินค้า  กรณีดังกล่าว จึงเกิดปัญหา และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก และความเสียหายดังกล่าวอาจเป็นเงินจำนวนสูง ถ้าสินค้านั้นเป็นที่นิยม เช่น ตุ๊กตาที่สั่งจากต่างประเทศเป็นต้น
 
     ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ยากต่อการป้องกัน เพราะการโพสต์ข้อความลงในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ที่โพสข้อความสามารถโพสต์เข้ามาในเว็บไซต์หรือสร้างเว็บไซต์ได้เอง และเสนอขายสินค้าและบริการ โดยที่ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อไม่อาจทราบได้ว่า การเสนอขายสินค้าดังกล่าวเป็นความจริงเพียงใด  ซึ่งต่างจากการขายสินค้าหรือบริการที่มีร้านค้าหรือตัวแทนที่ถูกต้อง ผู้ซื้อสามารถติดตามตัวผู้ขายได้ หรือบริษัทที่ให้บริการได้   
 
     ส่วนข้อที่ยากไปกว่าการป้องกันคือ การตรวจสอบว่า ใครเป็นผู้ดำเนินการ เพราะการซื้อขายในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น  การใช้ชื่อหรือข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต มักจะไม่ได้ใช้ชื่อจริง ดังนั้น การตรวจสอบของพนักงานสอบสวนจึงต้องแกะรอยจากบัญชีของผู้ขายที่ระบุให้โอนเงินไป แล้วจึงติดตามตัวผู้ที่กระทำความผิด  แต่ในบางกรณี การติดตามเจ้าของบัญชีก็ไม่อาจได้ตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้ เพราะบางคนมีการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อให้มีการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงได้แต่เจ้าของบัญชีแต่ไม่ได้ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง และในบางกรณีเงินที่ผู้เสียหายโอนไปแล้วก็นำไปใช้จนหมดไม่อาจนำมาเพื่อคืนให้แก่ผู้เสียหายได้
 
     ในทางกฎหมายนั้น ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดที่ยอมความได้ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ต้องเป็นการหลอกลวงด้วยข้อความเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ดังนั้นการซื้อขายแล้วไม่ส่งของให้ ต้องมีเจตนาทุจริตด้วย นั่นหมายความว่า หากเป็นเพียงการซื้อขาย แต่ขณะทำสัญญานั้น เป็นการทำสัญญาจริง มีของที่จะส่งมอบจริง แต่ภายหลังไม่มีของดังกล่าว จึงไม่ได้ส่งมอบกัน กรณีนี้เป็นเพียงการผิดสัญญาซื้อขาย ที่ผู้ขายจำต้องมีหน้าที่ในการส่งมอบของที่ผู้ซื้อ ได้สั่งซื้อนั้น แต่ในกรณีที่มีการหลอกหลวง ซื้อขายทาง online นั้น แสดงให้เห็นชัดเลยว่า ผู้ขายนั้น มีเจตนาที่จะไม่ส่งมอบสินค้านั้นตั้งแต่แรก แต่ประกาศใน เว็บไซต์ให้คนเข้ามาซื้อเพื่อประสงค์จะได้เงินของผู้สั่งซื้อโดยไม่ส่งของให้จึง เป็นความผิดฐานฉ้อโกง  และหากกระทำโดยทั่วไปทาง online นี้ จึงเป็นความผิดที่ถือได้ว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 343 ซึ่งมีโทษสูงขึ้น 
 
     มาตรการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องที่ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีภาระหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการฉ้อโกง และในแม้จะสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ก็ตาม แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้รับการเยียวยาเพราะเมื่อมีการชำระเงินไปแล้ว และผู้กระทำความผิดได้นำเงินไปใช้ ก็ไม่สามารถที่จะนำมาคืนให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกหลอกเป็นจำนวนมากได้
 
     มาตรการป้องกันการซื้อขายโดยหลอกหลวงนี้ จึงน่าจะมีมาตรการในเชิงบริหารจัดการซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ได้ร่วมมือกันในการควบคุมการซื้อขายทางระบบ online ที่มีการลงทะเบียนในการเข้ามาทำธุรกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภคว่า หากจะเข้ามาทำการซื้อขายในระบบ online นี้ จะต้องมีทะเบียนของผู้ขาย และได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ โดยเพาะกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ เพราะ ผู้ซื้อจะได้ตรวจสอบได้ว่า หากตนต้องการทราบว่า ผู้ขายเหล่านี้ มีที่อยู่หรือมีความน่าเชื่อในการให้บริการอย่างไรก็สามารถเข้ามาตรวจสอบและเข้าทำธุรกรรมได้ โดยไม่เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง
 
     ในมาตรการของการเฝ้าระวัง ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการซื้อขายในระบบอินเตอร์เน็ตนี้ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการประสานข้อมูลในการร่วมกันตรวจสอบผู้ที่โพสต์ข้อมูลเพื่อขายสินค้าหรือบริการ อย่างสม่ำเสมอ และโพสต์เตือนผู้ซื้อหรือประชาชนในการที่จะเข้าทำการซื้อขายสินค้าถึง เว็บไซต์ หลอกลวงหรือการเผยแพร่พฤติกรรมการหลอกลวงต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ประชาชนได้รู้ และมีความระมัดระวังในการเข้าทำธุรกรรมในระบบอินเตอร์เน็ตนี้ 
 
     นอกจากนี้ ในความร่วมมือของผู้ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตซึ่งส่วนใหญ่ก็จะโพสต์ข้อความที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงที่ตนเคยถูกหลอกมาแล้ว ในกระดานข่าวของแต่ละเว็บไซต์จึงน่าจะเป็นภาระของผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่จะคอยตรวจสอบหรือแจ้งเบาะแสแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหากพบว่ามีบุคคลหรือเอกชนใดที่อาศัยช่องทาง online ในการหลอกลวงประชาชนอีกทางหนึ่ง
      โดยสรุป ปัญหาการฉ้อโกงทาง online เป็นปัญหาที่ต้องการความดูแลและร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และระบบควบคุมการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตดังกล่าว และมีการติดตามและแจ้งเบาะแสการมีพฤติกรรมหลอกลวงนี้ เพราะความเสียหายที่เกิดจากการฉ้อโกงดังกล่าวมีจำนวนมากและยากต่อการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนและความน่าเชื่อถือในการที่จะเข้าทำธุรกรรมในระบบ online ต่อไป



บทความที่ 3

บทความที่ 3 แรงงานข้ามชาติกับประชาคมอาเซียน
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608   กลุ่มเรียนที่ 1




           ประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะสร้างความสับสนอยู่เสมอ เนื่องจากหลายๆ คนเข้าใจว่าเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2558 แล้ว แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะจากเมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ (UNSKILLED LABOUR) จะไหลถาโถม เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะเข้ามาแย่งงานคนไทยทำ ซึ่งในความเป็นจริงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศไม่เคยมีการตกลงแต่อย่างใดที่จะให้มี การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ แม้จะมีเป้าหมายในการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ก็เป็นเพียงการตั้งเป้าหมายว่าจะให้แรงงานฝีมือ (SKILLED LABOUR) สามารถเคลื่อนย้าย ได้เท่านั้น
            และในความเป็นจริง ณ ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้น จะมีก็เพียงการกำหนดคุณสมบัติไว้ก่อนเท่านั้นว่า ถ้าในวันหนึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีการอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีแล้ว แรงงานที่ทำได้ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วม (MUTUAL RECOGNITION ARRANGEMENTS: MRAS) เหล่านี้เท่านั้นที่จะสามารถเข้ามาทำงานและออกไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานระดับล่างหรือแรงงานไร้ฝีมือที่เราพบเห็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมากจากกฎข้อบังคับอื่นๆ ที่ฝ่ายไทยสร้างขึ้นมาเอง นั่นคือ การอนุญาตให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในปัจจุบัน ในตลาดแรงงานของไทยเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว โดยเฉพาะแรงงานวัยฉกรรจ์ที่พร้อมจะทำงานที่ใช้แรงงานเข้มข้น มักจะเป็นงานที่มีลักษณะเป็นงานหนัก สำหรับอาเซียนปัจจุบันได้มีการกำหนดคุณสมบัติของแรงงานหรือ MRAS เสร็จไปแล้ว 8 วิชาชีพโดยสามารถจำแนก MRAS ได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
            รูปแบบแรก คือการจัดทำมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพขึ้นมา อย่างชัดเจน ซึ่งมักจะเป็นวิชาชีพที่มีทักษะชั้นสูงในการประกอบวิชาชีพ โดย 5 วิชาชีพแรก ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก พยาบาล หมอ และหมอฟันที่ได้มีการจัดทำ MRA ไปแล้ว นั้น กากำหนดคุณสมบัติจะลงในรายละเอียด เรื่องวุฒิการศึกษา การมีใบอนุญาตภายในประเทศประเทศของตน จำนวนปีและประเภทของประสบการณ์ทำงานภายหลังการจบการศึกษา การศึกษาต่อเนื่อง และเรื่องจริยธรรม โดยในอนาคตหากนักวิชาชีพที่สามารถทำตนเองให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม MRA ก็สามารถเดินทางไปขอใบรับรองในสภาวิชาชีพของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำงานได้ แน่นอนว่าในอนาคตอาชีพในลักษณะที่มีแนวทางการปฏิบัติงานชัดเจนและเป็นวิชาชีพชั้นสูงก็จะมีการจัดทำ MRA ในลักษณะนี้มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด
             รูปแบบที่สอง จะเป็นกรอบข้อตกลงของวิชาชีพนักสำรวจ และนักบัญชี เนื่องจากแต่ละประเทศอาเซียนมีรูปแบบการศึกษาและวิธีการปฏิบัติงานที่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ดังนั้นอาเซียนจึงกำหนดเป็นเพียงกรอบข้อตกลงกว้างๆ (MRA FRAMEWORK) ว่านักสำรวจ นักบัญชีที่จะสามารถทำงานระหว่างคู่ประเทศหนึ่งๆ ของอาเซียนได้ต้องมีคุณสมบัติในประเด็นใดบ้าง ส่วนในรายละเอียดเรื่อง จำนวนปี เรื่องระดับการศึกษา ให้แต่ละคู่ประเทศในอาเซียนไปตกลงกันเอง โดยในอนาคตวิชาชีพที่น่าจะมีการกำหนดกรอบ MRA FRAMEWORK เช่นนี้ก็คือ นักกฎหมาย และสำหรับบริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นวิชาชีพล่าสุดที่มีการจัดทำ MRA เราพบว่า มีตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยวอยู่ถึง 32 ตำแหน่งงานภายใน MRA ที่บังคับใช้ไปแล้ว โดยมีตั้งแต่ระดับล่างสุด เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหาร ไปจนถึงระดับบน เช่น ผู้จัดการโรงแรมด้านการต้อนรับและดูแลลูกค้า ดังนั้น MRA เรื่องการท่องเที่ยวจึงมีลักษณะเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะมาขออนุญาตออกใบรับรองการทำงานแบบ COMPETENCY BASE นั่นคือจะกำหนดคุณสมบัติเป็นตำแหน่งงานย่อยๆ ว่า คนที่จะมาขอทำงานในตำแหน่งงานนี้ ต้องมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้มีการกำหนดในลักษณะของ วุฒิการศึกษา หรือใบอนุญาตการทำงานในประเทศเช่นเดียวกับอีก 7 วิชาชีพข้างต้น โดยในอนาคตนักวิชาชีพที่ลักษณะกึ่งฝีมือ หรือ SEMI-SKILLED LABOUR ไม่ว่าจะเป็นช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างคุมงานก่อสร้าง (โฟร์แมน) ก็มีแนวโน้มที่จะมีการจัดทำ MRA ในลักษณะนี้บริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นวิชาชีพล่าสุดที่มีการจัดทำ MRA พบว่า มีตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยวอยู่ถึง 32 ตำแหน่งงาน




แบบฝึกหัด บทที่ 8

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยาธรรม กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608


จงพิจารณากรณีศึกษานี้


1. "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดแทนโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้  โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย  นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A  ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว  C  เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ  ที่รู้จักได้ทดลอง"    การกระทำอย่างนี้เป็น  ผิดจริยธรรม  หรือผิดกฎหมายใดๆ  หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด  และหากผิด  ผิดในแง่ไหน  จงอธิบาย

    ตอบ  การกระทำอย่างนี้ผิดจริยธรรมในด้านละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ และสร้างความเสียหายให้บุคคลหลายคน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาของบุคคลที่ทำผิดจริยธรรม สร้างความวุ่นวายแก่ผู้อื่น ก่อนใช้โปรแกรมควรมีการบอกและขอในการใช้งาน


2.  "  นาย  J  ได้ทำการสร้างโฮมเพจ  เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน  อ้างอิงจากตำราต่างๆ  อีกทั้งรูปประกอบ  เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน  ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ  เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงายส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J "    การกระทำอย่างนี้เป็น  ผิดจริยธรรม  หรือผิดกฎหมายใดๆ  หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด  และหากผิด  ผิดในแง่ไหน  จงอธิบาย

  ตอบ  เป็นการกระทำที่ผิด เพราะการที่จะใช้ข้อมูลของผู้อื่นต้องมีการระบุถึงบุคคลผู้ที่เป็นเจ้าของด้วย และอิกอย่างข้อมูลที่ไม่ได้ระบุที่มา ถือว่าเป็นสารสนเทศที่ไม่สมประกอบ ไม่มีหลักฐานอ้างอิงในการใช้งาน ไม่สมควรนำข้อมูลนี้ไปใช้ โดยเฉพาะใช้เป็นความรู้ในการทำรายงาน หรือเรื่องต่างๆ ที่ใช้เผยแพร่










แบบฝึกหัด บทที่ 7

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608


จงตอบคำถามต่อไปนี้



1.  หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ  
   ตอบ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย  โดยสามารถกระได้โดยวิธีต่างกันไป

2.  จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
  ตอบ   worm  คือ  โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่จะไซหรือซอกซอนไปยังคอมพิวเตอร์อื่นๆ

3.  ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
    ตอบ ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออก 2 ชนิด คือ  1) Application viruses  2) System viruses

4.  ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
    ตอบ1.  อย่าเปิดอ่านอีเมลแปลกๆ
           2.  ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (Anti-virus)
           3.  อย่าโหลดเกมส์มากเกินไป  เกมส์คอมพิวเตอร์จากเว๊ปไซต์ต่างๆ อาจมีไวรัสซ่อนยุ
           4.  สแกนไฟล์ต่างๆ ทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภท
           5.  หมั่นตรวจสอบระบบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ

5.  มาตราการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  ได้แก่
    ตอบ  ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง  อวดทำ  ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร  ภาพระบายสี  สิ่งพิมพ์  แถบบันทึกเสียง  บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว  มีโทษจำคุก  ปรับ  หรือทั้งจำทั้งปรับ





แบบฝึกหัด บทที่ 6

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608


จงเลือกคำตอบที่ภูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว


1.  การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด ?
     1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ
     2.  เทคโนโลยี
     3.  สารสนเทศ
     4.  พัฒนาการ
     ตอบ  1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.  เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลได้การเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ?
     1.  ควมคุมเครื่องปรับอากาศ
     2.  ระบบการเรียนการสอนทางไกล
     3.  การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     4.  การพยากรณ์อากาศ
    ตอบ   2.  ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3.  การฝากถอนจากเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด ?
     1.  ระบบอัตโนมัติ
     2.  เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
     3.  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
     4.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต  ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
     ตอบ  1.  ระบบอัตโนมัติ

4.  ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
     1.  ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็คทรอนิกส์
     2.  บัตรเอทีเอ็ม  บัตรเครดิต
     3.  การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
     4.  ถูกทุกข้อ
     ตอบ  4.  ถูกทุกข้อ

5.  เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด ?
     1.  การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
     2.  ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
     3.  การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
     4.  การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
     ตอบ  1.  การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์

6.  เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคือไร ?
     1.  เทคโนโลยีการสื่อสาร
     2.  สารสนเทศ
     3.  คอมพิวเตอร์
     4.  ถูกทุกข้อ
     ตอบ  4.  ถูกทุกข้อ

7.  ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ?
     1.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
     2.  เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเลื่อสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
     3.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
     4.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
     ตอบ  1.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

8.  ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ ?
     1.  เครื่องถ่ายเอกสาร
     2.  เครื่องโทรสาร
     3.  เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
     4.  โทรทัศน์  วิทยุ
     ตอบ  1.  เครื่องถ่ายเอกสาร

9.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ  เทคโนโลยีสารสนเทศ ?
     1.  เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
     2.  พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ข้อมูล  และการสื่อสาร
     3.  ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
     4.  จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
     ตอบ  3.  ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10.  ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน ?
     1.  ตรวจสอบผลการลงทะเบียน
     2.  สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
     3.  ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน  ครู อาจารย์  หรือส่งงานได้ทุกที่
     4.  ถูกทุกข้อ
     ตอบ  4.  ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัด บทที่ 5

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ  กลุ่มเรียนที่ 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608



จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.จงอธิบายความหมายของสารสนเทศ
ตอบ  สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
ตอบ มีความสำตัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวันบุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข เช่น สารสนเพื่อการดูสุภาพ จัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นต้น
         มีความสำคัญต่อองค์การในด้านบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
ตอบ  แบ่งเป็น 4 ยุค


ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ 

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ 1.การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา การหาข้อมูลเพื่อการศึกษา สามารถเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลาตามความสนใจ
        2.การจัดการสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสาร สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผ่านฐานข้อมูลหรือเครือข่ายอินเทอเน็ต
        3.การจัดการสารสนเทศด้านพาณิชย์ สามารถสั่งซื้อของบนอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ได้ออกไปซื้อเองที่หน้าร้าน ทำให้สะดวกมากขึ้น