วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 4

บทความที่ 4 ปัญญาฉ้อโกง 0n line
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608   กลุ่มเรียนที่ 1



     การซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีมากขึ้น และหลายคนใช้บริการดังกล่าวเป็นประจำ เพราะสามารถซื้อได้ง่าย สะดวก  และรวดเร็ว  ทั้งนี้ ตัวอย่างสินค้าที่ต้องการสามารถตรวจสอบได้ตามมีรายการสินค้าอยู่ในระบบ 0n line นี้  การซื้อขายสินค้าในปัจจุบัน คือ บริษัทหรือผู้ขายได้โพสต์ข้อความขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และแจ้งให้ผู้ซื้อสินค้าโอนเงินผ่านบัญชีหรือใช้บัตรเครดิตชำระค่าบริการหรือราคาสินค้า แล้วจึงส่งสินค้าดังกล่าวให้แก่ลูกค้า   ซึ่งหากเป็นการขายสินค้าที่ถูกต้องก็จะไม่เกิดปัญหาในการซื้อขาย เว้นแต่จะมีความชำรุดบกพร่องในสินค้าที่จะต้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการชำรุดบกพร่องของสินค้าดังกล่าว
 
     ปัญหาที่เกิดการฉ้อโกงในการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต จึงเป็นเรื่องที่มิจฉาชีพแสวงหาโอกาสในการซื้อขายทาง online นี้ แสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อขายสินค้าหรือบริการ และเมื่อมีคนเข้าไปทำธุรกรรมและซื้อสินค้าเหล่านั้น แต่ไม่รับสินค้า  กรณีดังกล่าว จึงเกิดปัญหา และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก และความเสียหายดังกล่าวอาจเป็นเงินจำนวนสูง ถ้าสินค้านั้นเป็นที่นิยม เช่น ตุ๊กตาที่สั่งจากต่างประเทศเป็นต้น
 
     ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ยากต่อการป้องกัน เพราะการโพสต์ข้อความลงในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ที่โพสข้อความสามารถโพสต์เข้ามาในเว็บไซต์หรือสร้างเว็บไซต์ได้เอง และเสนอขายสินค้าและบริการ โดยที่ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อไม่อาจทราบได้ว่า การเสนอขายสินค้าดังกล่าวเป็นความจริงเพียงใด  ซึ่งต่างจากการขายสินค้าหรือบริการที่มีร้านค้าหรือตัวแทนที่ถูกต้อง ผู้ซื้อสามารถติดตามตัวผู้ขายได้ หรือบริษัทที่ให้บริการได้   
 
     ส่วนข้อที่ยากไปกว่าการป้องกันคือ การตรวจสอบว่า ใครเป็นผู้ดำเนินการ เพราะการซื้อขายในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น  การใช้ชื่อหรือข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต มักจะไม่ได้ใช้ชื่อจริง ดังนั้น การตรวจสอบของพนักงานสอบสวนจึงต้องแกะรอยจากบัญชีของผู้ขายที่ระบุให้โอนเงินไป แล้วจึงติดตามตัวผู้ที่กระทำความผิด  แต่ในบางกรณี การติดตามเจ้าของบัญชีก็ไม่อาจได้ตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้ เพราะบางคนมีการรับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อให้มีการโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงได้แต่เจ้าของบัญชีแต่ไม่ได้ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง และในบางกรณีเงินที่ผู้เสียหายโอนไปแล้วก็นำไปใช้จนหมดไม่อาจนำมาเพื่อคืนให้แก่ผู้เสียหายได้
 
     ในทางกฎหมายนั้น ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดที่ยอมความได้ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ต้องเป็นการหลอกลวงด้วยข้อความเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ดังนั้นการซื้อขายแล้วไม่ส่งของให้ ต้องมีเจตนาทุจริตด้วย นั่นหมายความว่า หากเป็นเพียงการซื้อขาย แต่ขณะทำสัญญานั้น เป็นการทำสัญญาจริง มีของที่จะส่งมอบจริง แต่ภายหลังไม่มีของดังกล่าว จึงไม่ได้ส่งมอบกัน กรณีนี้เป็นเพียงการผิดสัญญาซื้อขาย ที่ผู้ขายจำต้องมีหน้าที่ในการส่งมอบของที่ผู้ซื้อ ได้สั่งซื้อนั้น แต่ในกรณีที่มีการหลอกหลวง ซื้อขายทาง online นั้น แสดงให้เห็นชัดเลยว่า ผู้ขายนั้น มีเจตนาที่จะไม่ส่งมอบสินค้านั้นตั้งแต่แรก แต่ประกาศใน เว็บไซต์ให้คนเข้ามาซื้อเพื่อประสงค์จะได้เงินของผู้สั่งซื้อโดยไม่ส่งของให้จึง เป็นความผิดฐานฉ้อโกง  และหากกระทำโดยทั่วไปทาง online นี้ จึงเป็นความผิดที่ถือได้ว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 343 ซึ่งมีโทษสูงขึ้น 
 
     มาตรการที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเรื่องที่ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีภาระหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำการฉ้อโกง และในแม้จะสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ก็ตาม แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจไม่ได้รับการเยียวยาเพราะเมื่อมีการชำระเงินไปแล้ว และผู้กระทำความผิดได้นำเงินไปใช้ ก็ไม่สามารถที่จะนำมาคืนให้แก่ผู้เสียหายที่ถูกหลอกเป็นจำนวนมากได้
 
     มาตรการป้องกันการซื้อขายโดยหลอกหลวงนี้ จึงน่าจะมีมาตรการในเชิงบริหารจัดการซึ่งหน่วยงานภาครัฐ ได้ร่วมมือกันในการควบคุมการซื้อขายทางระบบ online ที่มีการลงทะเบียนในการเข้ามาทำธุรกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้บริโภคว่า หากจะเข้ามาทำการซื้อขายในระบบ online นี้ จะต้องมีทะเบียนของผู้ขาย และได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ โดยเพาะกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ เพราะ ผู้ซื้อจะได้ตรวจสอบได้ว่า หากตนต้องการทราบว่า ผู้ขายเหล่านี้ มีที่อยู่หรือมีความน่าเชื่อในการให้บริการอย่างไรก็สามารถเข้ามาตรวจสอบและเข้าทำธุรกรรมได้ โดยไม่เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง
 
     ในมาตรการของการเฝ้าระวัง ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการซื้อขายในระบบอินเตอร์เน็ตนี้ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรมีการประสานข้อมูลในการร่วมกันตรวจสอบผู้ที่โพสต์ข้อมูลเพื่อขายสินค้าหรือบริการ อย่างสม่ำเสมอ และโพสต์เตือนผู้ซื้อหรือประชาชนในการที่จะเข้าทำการซื้อขายสินค้าถึง เว็บไซต์ หลอกลวงหรือการเผยแพร่พฤติกรรมการหลอกลวงต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ประชาชนได้รู้ และมีความระมัดระวังในการเข้าทำธุรกรรมในระบบอินเตอร์เน็ตนี้ 
 
     นอกจากนี้ ในความร่วมมือของผู้ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตซึ่งส่วนใหญ่ก็จะโพสต์ข้อความที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงที่ตนเคยถูกหลอกมาแล้ว ในกระดานข่าวของแต่ละเว็บไซต์จึงน่าจะเป็นภาระของผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่จะคอยตรวจสอบหรือแจ้งเบาะแสแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหากพบว่ามีบุคคลหรือเอกชนใดที่อาศัยช่องทาง online ในการหลอกลวงประชาชนอีกทางหนึ่ง
      โดยสรุป ปัญหาการฉ้อโกงทาง online เป็นปัญหาที่ต้องการความดูแลและร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต และระบบควบคุมการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตดังกล่าว และมีการติดตามและแจ้งเบาะแสการมีพฤติกรรมหลอกลวงนี้ เพราะความเสียหายที่เกิดจากการฉ้อโกงดังกล่าวมีจำนวนมากและยากต่อการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  ทั้งนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนและความน่าเชื่อถือในการที่จะเข้าทำธุรกรรมในระบบ online ต่อไป



บทความที่ 3

บทความที่ 3 แรงงานข้ามชาติกับประชาคมอาเซียน
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608   กลุ่มเรียนที่ 1




           ประเด็นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะสร้างความสับสนอยู่เสมอ เนื่องจากหลายๆ คนเข้าใจว่าเมื่อมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2558 แล้ว แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะจากเมียนมาร์ สปป.ลาวและกัมพูชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ (UNSKILLED LABOUR) จะไหลถาโถม เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะเข้ามาแย่งงานคนไทยทำ ซึ่งในความเป็นจริงประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศไม่เคยมีการตกลงแต่อย่างใดที่จะให้มี การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ แม้จะมีเป้าหมายในการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี ก็เป็นเพียงการตั้งเป้าหมายว่าจะให้แรงงานฝีมือ (SKILLED LABOUR) สามารถเคลื่อนย้าย ได้เท่านั้น
            และในความเป็นจริง ณ ปัจจุบันการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ก็ยังไม่ได้เกิดขึ้น จะมีก็เพียงการกำหนดคุณสมบัติไว้ก่อนเท่านั้นว่า ถ้าในวันหนึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนมีการอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรีแล้ว แรงงานที่ทำได้ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วม (MUTUAL RECOGNITION ARRANGEMENTS: MRAS) เหล่านี้เท่านั้นที่จะสามารถเข้ามาทำงานและออกไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานระดับล่างหรือแรงงานไร้ฝีมือที่เราพบเห็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมากจากกฎข้อบังคับอื่นๆ ที่ฝ่ายไทยสร้างขึ้นมาเอง นั่นคือ การอนุญาตให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในปัจจุบัน ในตลาดแรงงานของไทยเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว โดยเฉพาะแรงงานวัยฉกรรจ์ที่พร้อมจะทำงานที่ใช้แรงงานเข้มข้น มักจะเป็นงานที่มีลักษณะเป็นงานหนัก สำหรับอาเซียนปัจจุบันได้มีการกำหนดคุณสมบัติของแรงงานหรือ MRAS เสร็จไปแล้ว 8 วิชาชีพโดยสามารถจำแนก MRAS ได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
            รูปแบบแรก คือการจัดทำมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพขึ้นมา อย่างชัดเจน ซึ่งมักจะเป็นวิชาชีพที่มีทักษะชั้นสูงในการประกอบวิชาชีพ โดย 5 วิชาชีพแรก ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก พยาบาล หมอ และหมอฟันที่ได้มีการจัดทำ MRA ไปแล้ว นั้น กากำหนดคุณสมบัติจะลงในรายละเอียด เรื่องวุฒิการศึกษา การมีใบอนุญาตภายในประเทศประเทศของตน จำนวนปีและประเภทของประสบการณ์ทำงานภายหลังการจบการศึกษา การศึกษาต่อเนื่อง และเรื่องจริยธรรม โดยในอนาคตหากนักวิชาชีพที่สามารถทำตนเองให้มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม MRA ก็สามารถเดินทางไปขอใบรับรองในสภาวิชาชีพของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำงานได้ แน่นอนว่าในอนาคตอาชีพในลักษณะที่มีแนวทางการปฏิบัติงานชัดเจนและเป็นวิชาชีพชั้นสูงก็จะมีการจัดทำ MRA ในลักษณะนี้มากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด
             รูปแบบที่สอง จะเป็นกรอบข้อตกลงของวิชาชีพนักสำรวจ และนักบัญชี เนื่องจากแต่ละประเทศอาเซียนมีรูปแบบการศึกษาและวิธีการปฏิบัติงานที่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ดังนั้นอาเซียนจึงกำหนดเป็นเพียงกรอบข้อตกลงกว้างๆ (MRA FRAMEWORK) ว่านักสำรวจ นักบัญชีที่จะสามารถทำงานระหว่างคู่ประเทศหนึ่งๆ ของอาเซียนได้ต้องมีคุณสมบัติในประเด็นใดบ้าง ส่วนในรายละเอียดเรื่อง จำนวนปี เรื่องระดับการศึกษา ให้แต่ละคู่ประเทศในอาเซียนไปตกลงกันเอง โดยในอนาคตวิชาชีพที่น่าจะมีการกำหนดกรอบ MRA FRAMEWORK เช่นนี้ก็คือ นักกฎหมาย และสำหรับบริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นวิชาชีพล่าสุดที่มีการจัดทำ MRA เราพบว่า มีตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยวอยู่ถึง 32 ตำแหน่งงานภายใน MRA ที่บังคับใช้ไปแล้ว โดยมีตั้งแต่ระดับล่างสุด เช่น พนักงานเสิร์ฟอาหาร ไปจนถึงระดับบน เช่น ผู้จัดการโรงแรมด้านการต้อนรับและดูแลลูกค้า ดังนั้น MRA เรื่องการท่องเที่ยวจึงมีลักษณะเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะมาขออนุญาตออกใบรับรองการทำงานแบบ COMPETENCY BASE นั่นคือจะกำหนดคุณสมบัติเป็นตำแหน่งงานย่อยๆ ว่า คนที่จะมาขอทำงานในตำแหน่งงานนี้ ต้องมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้มีการกำหนดในลักษณะของ วุฒิการศึกษา หรือใบอนุญาตการทำงานในประเทศเช่นเดียวกับอีก 7 วิชาชีพข้างต้น โดยในอนาคตนักวิชาชีพที่ลักษณะกึ่งฝีมือ หรือ SEMI-SKILLED LABOUR ไม่ว่าจะเป็นช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างคุมงานก่อสร้าง (โฟร์แมน) ก็มีแนวโน้มที่จะมีการจัดทำ MRA ในลักษณะนี้บริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นวิชาชีพล่าสุดที่มีการจัดทำ MRA พบว่า มีตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับบริการท่องเที่ยวอยู่ถึง 32 ตำแหน่งงาน




แบบฝึกหัด บทที่ 8

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยาธรรม กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608


จงพิจารณากรณีศึกษานี้


1. "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดแทนโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้  โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย  นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A  ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว  C  เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ  ที่รู้จักได้ทดลอง"    การกระทำอย่างนี้เป็น  ผิดจริยธรรม  หรือผิดกฎหมายใดๆ  หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด  และหากผิด  ผิดในแง่ไหน  จงอธิบาย

    ตอบ  การกระทำอย่างนี้ผิดจริยธรรมในด้านละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ และสร้างความเสียหายให้บุคคลหลายคน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาของบุคคลที่ทำผิดจริยธรรม สร้างความวุ่นวายแก่ผู้อื่น ก่อนใช้โปรแกรมควรมีการบอกและขอในการใช้งาน


2.  "  นาย  J  ได้ทำการสร้างโฮมเพจ  เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน  อ้างอิงจากตำราต่างๆ  อีกทั้งรูปประกอบ  เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน  ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ  เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงายส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J "    การกระทำอย่างนี้เป็น  ผิดจริยธรรม  หรือผิดกฎหมายใดๆ  หรือไม่  หากไม่ผิดเพราะเหตุใด  และหากผิด  ผิดในแง่ไหน  จงอธิบาย

  ตอบ  เป็นการกระทำที่ผิด เพราะการที่จะใช้ข้อมูลของผู้อื่นต้องมีการระบุถึงบุคคลผู้ที่เป็นเจ้าของด้วย และอิกอย่างข้อมูลที่ไม่ได้ระบุที่มา ถือว่าเป็นสารสนเทศที่ไม่สมประกอบ ไม่มีหลักฐานอ้างอิงในการใช้งาน ไม่สมควรนำข้อมูลนี้ไปใช้ โดยเฉพาะใช้เป็นความรู้ในการทำรายงาน หรือเรื่องต่างๆ ที่ใช้เผยแพร่










แบบฝึกหัด บทที่ 7

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608


จงตอบคำถามต่อไปนี้



1.  หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ  
   ตอบ รูปแบบของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่ถูกจัดตั้งอยู่บนเครือข่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย  โดยสามารถกระได้โดยวิธีต่างกันไป

2.  จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
  ตอบ   worm  คือ  โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์  ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่จะไซหรือซอกซอนไปยังคอมพิวเตอร์อื่นๆ

3.  ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
    ตอบ ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออก 2 ชนิด คือ  1) Application viruses  2) System viruses

4.  ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
    ตอบ1.  อย่าเปิดอ่านอีเมลแปลกๆ
           2.  ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (Anti-virus)
           3.  อย่าโหลดเกมส์มากเกินไป  เกมส์คอมพิวเตอร์จากเว๊ปไซต์ต่างๆ อาจมีไวรัสซ่อนยุ
           4.  สแกนไฟล์ต่างๆ ทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภท
           5.  หมั่นตรวจสอบระบบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ

5.  มาตราการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  ได้แก่
    ตอบ  ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง  อวดทำ  ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร  ภาพระบายสี  สิ่งพิมพ์  แถบบันทึกเสียง  บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว  มีโทษจำคุก  ปรับ  หรือทั้งจำทั้งปรับ





แบบฝึกหัด บทที่ 6

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608


จงเลือกคำตอบที่ภูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว


1.  การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด ?
     1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ
     2.  เทคโนโลยี
     3.  สารสนเทศ
     4.  พัฒนาการ
     ตอบ  1.  เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.  เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลได้การเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ?
     1.  ควมคุมเครื่องปรับอากาศ
     2.  ระบบการเรียนการสอนทางไกล
     3.  การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     4.  การพยากรณ์อากาศ
    ตอบ   2.  ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3.  การฝากถอนจากเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด ?
     1.  ระบบอัตโนมัติ
     2.  เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
     3.  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
     4.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต  ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
     ตอบ  1.  ระบบอัตโนมัติ

4.  ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
     1.  ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็คทรอนิกส์
     2.  บัตรเอทีเอ็ม  บัตรเครดิต
     3.  การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
     4.  ถูกทุกข้อ
     ตอบ  4.  ถูกทุกข้อ

5.  เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด ?
     1.  การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
     2.  ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
     3.  การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
     4.  การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
     ตอบ  1.  การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์

6.  เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคือไร ?
     1.  เทคโนโลยีการสื่อสาร
     2.  สารสนเทศ
     3.  คอมพิวเตอร์
     4.  ถูกทุกข้อ
     ตอบ  4.  ถูกทุกข้อ

7.  ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ?
     1.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
     2.  เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเลื่อสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
     3.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
     4.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
     ตอบ  1.  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

8.  ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ ?
     1.  เครื่องถ่ายเอกสาร
     2.  เครื่องโทรสาร
     3.  เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
     4.  โทรทัศน์  วิทยุ
     ตอบ  1.  เครื่องถ่ายเอกสาร

9.  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ  เทคโนโลยีสารสนเทศ ?
     1.  เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
     2.  พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ข้อมูล  และการสื่อสาร
     3.  ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
     4.  จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
     ตอบ  3.  ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10.  ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน ?
     1.  ตรวจสอบผลการลงทะเบียน
     2.  สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
     3.  ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน  ครู อาจารย์  หรือส่งงานได้ทุกที่
     4.  ถูกทุกข้อ
     ตอบ  4.  ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัด บทที่ 5

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ  กลุ่มเรียนที่ 1
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608



จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.จงอธิบายความหมายของสารสนเทศ
ตอบ  สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
ตอบ มีความสำตัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวันบุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข เช่น สารสนเพื่อการดูสุภาพ จัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นต้น
         มีความสำคัญต่อองค์การในด้านบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
ตอบ  แบ่งเป็น 4 ยุค


ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ 

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ 1.การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา การหาข้อมูลเพื่อการศึกษา สามารถเรียนเรียนรู้ได้ตลอดเวลาตามความสนใจ
        2.การจัดการสารสนเทศด้านข้อมูลข่าวสาร สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผ่านฐานข้อมูลหรือเครือข่ายอินเทอเน็ต
        3.การจัดการสารสนเทศด้านพาณิชย์ สามารถสั่งซื้อของบนอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ได้ออกไปซื้อเองที่หน้าร้าน ทำให้สะดวกมากขึ้น



วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 2

บทความที่ 2    วัยรุ่นไทยกับ Facebook
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ นางสาวนิรชา   อะโน  FM รหัส 56010919608   กลุ่มเรียนที่ 1


               ในปัจจุบันนี้ อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาท กับสังคมไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัยรุ่นในประเทศไทยใช้อินเตอร์เน็ตกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การใช้หาข้อมูลเพื่อการศึกษา การดูหนัง ฟังเพลง และการพูดคุยกับเพื่อน ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อออกมา คือ " กาพูดคุยกับเพื่อนผ่านอินเตอร์เน็ต"  มีการพิมพ์โต้ตอบกัน เช่น msn หรือจะเป็นในรูปของกระดานแสดงความคิดเห็น เช่น hi5 และ facebook ซึ่งสื่อให้เห็นถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแพร่หลายในกลุ่มของวันรุ่นไทยในปัจจุบัน
                ในการพูดคุยกับเพื่อนผ่านอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบัน พูดคุยกันได้หลายช่องทาง เช่น msn , Facebook , hi5 , tweeter , spyte  เป็นต้น แต่ ตัวที่มาแรงในตอนนี้คงมีไม่พ้น Facebook เนื่องจากความหลากหลาย ของฟังก์ชั่นในการใช้งาน ทำให้Facebook เป็น สิ่งที่วัยรุ่นไทยต้องใช้ในชีวิตประจำวันไปแล้ว  ไม่ว่าจะทำอะไร ก็ต้องเอา Update ไว้บนสถาณะ ของ Facebook แล้วเวลาว่างๆเรายัง เข้าไปเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลาย ได้อีกด้วย รวมถึงการแชร์ภาพและวีดีโอ ก็ทำได้รวดเร็ว แต่ ทุกอย่างก็ ล้วนเป็นดายสองคม มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าจะให้กล่าวในส่วนข้อดีของ Facebook จุดเด่นของมันคือ เป็น social network ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยผ่านเครือข่ายระบบ อินเตอร์เน็ต ดังนั้น จึงง่ายต่อการติดต่อซึ่งกันและกัน แล้วไม่ใช่เพียงแค่นี้ เรายังได้เจอเพื่อนใหม่ๆใน Facebok อีกด้วย อย่าคิดว่าเพื่อนใหม่อย่างเดียวนะค่ะ ลองนึกภาพดู ถ้าหากคุณเจอเพื่อนคนหนึ่ง คุยไปคุยมา สอบถาม ว่า เรียนใหนยังไง แล้วเผอิญ เพื่อนคนนั้นเป็นเพื่อนเก่าคุณอีก โลกของความจริงโอกาสที่ได้เจอกันน้อยมาก แต่มาเจอใน  Facebook คิดแล้วคงจะสนุกน่าดูนะค่ะ  ยังไม่พอ บางคนที่ใช้ E-mail ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนๆ กลายเป็นว่า ไม่ต้องส่งเมลล์ให้มันยุ่งยากอีกต่อไป เพราะ มาพูดคุยในกระดานสนทนาไว้ ก็จบแล้ว แต่อย่างที่ผู้เขียนกล่าวไว้ข้างต้นเมื่อมีข้อดีแล้วก้อมีข้อเสียตามมา ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเลยของเจ้า Facebook นั่นคือ การที่เราไปติดมันจนเกินไป ไม่ว่าจะว่างหรือไม่ว่างเราก็จะต้องมาเล่นเจ้า Facebook นี่แหละ แม้กระทั่งตอนเรียนอยู่ ระหว่างที่อาจารย์สอนอยู่ก็เล่นไป บางคนก็ เก็บผักอยู่บ้าง บางคนก็แข่งรถ บางคนก็เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร แล้วเนื้อหาที่อาจารย์สอน ไม่รู้เรื่อง จึงเป็นผลเสียที่เห็นได้ชัดเลย  แล้วยังไม่นับรวมพวกที่ชอบสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นอีกเนื่องจาก Facebook  เปิดขึ้นมาเพื่อการแชร์รูปภาพ ดังนั้น ก็ หวานหมูพวกที่ชอบcopyรูปคนอื่นไปสร้างความเดือดร้อนอีก โดยที่อาจจะcopyรูปภาพของเราไปทำเพจในเรื่องเสียๆหายๆ อาจส่งผลกระทบกับตัวเราได้นะค่ะ